ข้อควรระวังในการทำหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์




ข้อควรระวังในการทำหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

หลังจากบทความที่แล้วที่เขียนถึง “วิธีรับมือเมื่อรถคุณเกิดอุบัติเหตุ”ไปแล้ว และได้ติดค้างเรื่อง การทำหนังสือผูกมัด หรือ”หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ”บทความนี้จึงขอนำข้อมูล จุดสังเกตข้อควรระวังต่างๆในการทำหนังสือผูกมัดมาฝากท่านผู้อ่านนะครับ
หนังสือผูกมัด หรือที่ศาลท่านเรียกว่า”หนังสือสัญญาประนีประนอม” ในการที่จะทำขึ้นมา อาจเป็นแค่กระดาษจดบันทึกกันเอง บันทึกประจำวันที่โรงพัก บันทึกที่ตำรวจ ทนาย หรือคนกลาง ทำให้คู่กรณีโดยตรง
มีข้อที่ท่านต้องพึงระวังดังนี้


คนที่จ่ายเงินต้องเป็นคนเซ็นชื่อเท่านั้น
จะให้คนอื่นที่ไม่ใช่คนจ่ายเงิน เซ็นเด็ดขาด คุณอาจจะไม่ได้เงิน เคยมีกรณีที่ลูกจ้างขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ แล้วก็เซ็นยอมรับผิดตามที่ตกลง เถ้าแก่เจ้าของรถเซ็นแค่เป็นพยาน เรื่องไปถึงศาล ศาลท่านตัดสินว่า ไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าเสียหายใดๆจากเจ้าของรถได้


อย่ารีบเซ็น
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าบันทึกนั้นข้อตกลงค่าเสียหายหรือไม่ “อย่ารีบเซ็น” โดยเฉพาะบันทึกประจำวันที่โรงพักมักจะเขียนรวบรัดเรื่องค่าเสียหายไว้ด้วย ต้องระวัง


ใครมีอำนาจเซ็น
 ถ้าทางบริษัทหรือห้างร้านเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องดูว่าใครมีอำนาจเซ็น ต้องมีตราประทับ ถ้าพิมพ์มือต้องมีพยานเซ็นรับรอง 2 คนขึ้นไป


เขียนให้ชัดเจน
ต้องเขียนให้ชัดเจนทุกทุกเรื่อง เช่น ได้ค่าเสียหายเท่าไร จ่ายเมื่อใด รถเอาไปซ่อมให้หรือเปลี่ยนใหม่อย่างไร และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เพราะศาลถือว่าเขียนแค่ไหนได้แค่นั้น ถ้าอยากได้แต่ไม่เขียนไป อดนะครับ ถ้าทางผู้จ่ายตกลงจ่ายก่อนบางส่วนเฉพาะค่าทำศพ ค่ารักษาพยาบาล อย่าลืมเขียนเอาไว้ด้วยว่า ค่าเสียหายอื่นๆ มาตกลงกันอีกภายหลัง  ไม่งั้นได้ไปเถียงกันในศาลอีกยาว


เก็บหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความไว้ให้ดี
ถ้าเรื่องยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี ต้องเก็บรักษาหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความ ไว้ให้ดีเพราะเราไม่อาจแน่ใจได้ว่าอีกฝ่ายจะเบี้ยวหรือผิดสัญญาในข้อใดหรือไม่


สุดท้าย การเซ็นชื่อในบันทึกข้อตกลง หรือบันทึกประจำวันในเรื่องค่าเสียหายนั้นสำคัญมาก จะชิงไหวชิงพริบ และขึ้นอยู่กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าชำนาญทางกฎหมายขนาดไหน เอนเอียงหรือไม่ บันทึกข้อตกลง หรือบันทึกประจำวันในเรื่องค่าเสียหาย นี้ถูกใช้อ้างอิงในศาลมาแล้วนับไม่ถ้วน ถ้าไม่แน่ใจ ก่อนที่จะต้องเซ็น ต้องอ่านรายละเอียดต่างๆ สอบถามผู้รู้ ให้แน่ใจเสียก่อน
จะได้ไม่มานั่งเสียใจภายหลังครับ


วิธีรับมือเมื่อรถคุณเกิดอุบัติเหตุ


ประกันรถยนต์ จ่ายสด ลด 5% เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ ทราบผลทันที
พรบ. ต่อทะเบียน สั่งเช้าได้บ่าย ขาดต่อก็สามารถต่อได้ คลิ๊กเลย!
ประกันชั้น 2+ เริ่มต้น 720 บาท/เดือน ฟรี กระป๋าผ้าเอนกประสงค์ มูลค่า 199 บาท ด่วน! หมดแล้วหมดเลย
ส่วนลดเบี้ยประกันรถยนต์ สูงสุด 50% หรือ ผ่อน 0% นาน 10 เดือน


วิธีรับมือเมื่อรถคุณเกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุทางรถยนต์ไม่ว่าใครก็ไม่อยาก ให้เกิดขึ้นทั้้งนั้น แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเราจะมีวิธีรับมืออย่างไร วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ว่าเราจะต้องทำอย่างไรเมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ ขึ้นมาจริงๆ

ใครผิด ใครถูก


   เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว ส่อแววว่าจะตกลงกันไม่ได้ ว่า เรื่องอาจไปถึงศาล แต่ถ้าเรามั่นใจว่าฝ่ายเราถูก100%แล้วละก็ ต้องรีบเก็บพยานหลักฐาน จดจำวันเวลา สถานที่เกิดเหตุ มีกล้อง มีโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ ก็รีบถ่ายไว้ก่อนที่หลักฐานจะถูกเคลื่อนย้าย เก็บใบเสร็จ เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ถ้ามีการเปรียบเทียบปรับคนผิดที่โรงพัก นั่นคือพยาน เป็นหลักฐานสำคัญทางแพร่ง ศาลจะให้น้ำหนักมากกว่าพูดปากเปล่า แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายผิดแล้วละก็ รู้นะว่าจะต้องทำอย่างไร

แต่หากไม่ต้องขึ้นศาล คือ มีฝ่ายผิดฝ่ายถูกแล้วละก็ มาดูลำดับต่อไปกัน

เจรจาค่าเสียหาย


   ปัญหาส่วนใหญ่ที่ตามมาหลังตกลงกันได้แล้วว่าใคร ผิดใครถูกคือ ฝ่ายที่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ก็ไม่อยากจะจ่าย ฝ่ายที่ได้รับค่าเสียหาย ก็จะเอาให้มากที่สุด ต่างฝ่ายต่างเอาคนใหญ่คนโตทั้งหลายแหล่มากดดันทั้งเจ้าหน้าที่และฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ต้องจ่าย ก็ต้องหาแง่มุมทางกฏหมาย มาใช้เพื่อจะได้ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หรือชดใช้ให้น้อยที่สุด ระวังมืออาชีพในด้านนี้ เขาจะมาเจรจาแบบจะจบแหล่ไม่จบแหล่ จนเลยเวลา 1ปี นับแต่วันเกิดเหตุ นั่นหมายความว่า การเรียกร้องค่าเสียหาย คดีละเมิดจะขาดอายุความ นำคดีไปฟ้องร้อง ศาลท่านยกฟ้องลูกเดียว  ผู้ที่คิดว่าเป็นฝ่ายถูกต้องจดจำวันที่จะขาดอายุความให้ดี ควรจะจัดการให้จบภายใน 10 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้  แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายผิดแล้วละก็ รู้นะว่าจะต้องทำอย่างไร
เมื่อเจรจาค่าเสียหายแล้วขั้้นตอนต่อไปคือ

ทำหนังสือผูกมัด"หนังสือสัญญาประณีประนอมยอมความ"


การทำหนังสือบันทึกข้อตกลงร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องการ  ฝ่ายที่จ่าย จะได้รู้ว่า จ่ายแค่ไหน จ่ายยังไง เวลาเขียนก็จะมีว่าจะไม่ติดความฟ้องร้องคดีแพ่ง และอาญาอีก และมีวิธีเลี่ยงบาลีคือ "จ่ายเพื่อมนุษยธรรม" อันนี้แสดงว่าผู้จ่ายยังไม่ยอมรับผิด แต่จ่ายเพื่อ ลดแรงกดดันจากฝ่ายที่เสียหาย เพื่อจะได้ประกันตัวออกจากห้องขังโดยเร็ว ให้ตำรวจปล่อยรถที่ยึดไว้ และที่สำคัญเลี่ยงจากการโดนเรียกค่าเสียหายมโหฬารหากยอมรับผิดแบบผลีผลาม
ฝ่ายที่เสียหายก็จะได้รู้ว่า อีกฝ่ายยอมรับผิดหรือไม่ ยอมจ่ายเท่าไร เมื่อไหร่ อย่างไร ถ้าโดนเบี้ยวได้ฟ้องศาลได้ง่าย

บทความหน้าจะมาบอกวิธีทำ"หนังสือสัญญาประณีประนอมยอมความ"ว่าควรทำอย่างไรให้รัดกุมไม่เสียเปรียบอีกฝ่าย

ทางออกที่ดีที่สุด ในเรื่่องเหล่านี้คือ ทำประกันภัยรถยนต์ ไว้ดีที่สุด เพื่อที่คุณจะได้มีมืออาชีพมาช่วยคุณในเรื่องคดีความ และ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

สุดท้าย อุบัติเหตุทางรถนั้น ไม่มีใครอยากให้เกิด(ยกเว้นอู่ซ่อม) เวลาเจรจาก็ลดราวาศอก กันบ้าง จบได้ก็รีบจบ อย่าให้ไปถึงโรงถึงศาลเลยครับ


 -ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร คู่สร้างคู่สม คอลัมน์ กฏหมายผัวเมีย ณรงค์ นิติจันทร์



 

 

ประกันภัยมีอะไรบ้าง???



เช็คเบี้ยประกันรถยนต์
ฟรี Voucher Lover's Winter สัมพัสลมหนาว

ประกันชั้น 3 รถยนต์เริ่มต้น 6,800 บาท
ประกันทุกค่ายแบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน ฟรีบริการเสริมมูลค่า 4,000 บาท
พรบ. ต่อทะเบียน สั่งเช้าได้บ่าย ขาดต่อก็สามารถต่อได้ คลิ๊กเลย!
ประกันชั้น 2+ เริ่มต้น 720 บาท/เดือน ฟรี กระป๋าผ้าเอนกประสงค์ มูลค่า 199 บาท ด่วน! หมดแล้วหมดเลย
สินเชื่อรถยนต์ เพิ่มสภาพคล่อง สำหรับคนมีรถ



ความรู้ประกันภัยรถยนต์

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองสำหรับประกันรถยนต์
ประกันภัย รถยนต์ประเภท
ความคุ้มครองประกันรถยนต์ประเภทต่างๆ
อนุสัญญาหรือเอกสารแนบท้าย
ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย
หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สิน
ของบุคคลภายนอก
ความเสียหาย
ต่อตัวรถยนต์
ความสูญหายและไฟไหม้
ของตัวรถยนต์
อุบัติเหตุส่วนบุคคล
ค่ารักษาพยาบาล
ประกันตัวผู้ขับขี่
1
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
2
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
3
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
(2+)
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
*
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
(3+)
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
 *
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์
* กรณีที่เกิดอุบัติเหตุการชนจากยวดยานพาหนะทางบก และเป็นฝ่ายผิด ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 2000 บาท หรือ ตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย


ประกันภัยรถยนต์ 

1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น1
2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น2
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น3


ความรู้ประกันอุบัติเหตุ

เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต
การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลส่วนมาก มีให้เลือก 5 แบบ ได้แก่
okกรมธรรม์ฯ สำหรับบุคคลทั่วไป (อายุ 15-20 ปี)
okกรมธรรม์ฯ เงินเอาประกันภัย 1 ล้านบาท (อายุ 21-60 ปี)
okกรมธรรม์ฯ เงินเอาประกันภัย 2 ล้านบาท (อายุ 21-60 ปี)
okกรมธรรม์ฯ สำหรับบุคคลที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง
okกรมธรรม์ฯ สำหรับแม่บ้าน


ความรู้ประกันอัคคีภัย

เป็นการประกันภัยที่ระบุความคุ้มครองอย่างชัดเจนว่า
จะรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับทรัพย์สิน
ที่เอาประกันภัยเสียหายจากภัยต่อไปนี้
ประกันอัคคีภัยเพลิงไหม้ (ไม่ว่าจะเกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม)
ประกันอัคคีภัยฟ้าผ่า
ประกันอัคคีภัยการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย


ความรู้ประกันภัยโจรกรรม

เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน และคุ้มครองความเสียหายต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารซึ่งเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยแบ่งประเภทภัยที่คุ้มครองเป็น 3 แบบ
1. การลักทรัพย์ที่ปรากฎร่องรอยงัดแงะ (จร.1)
หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหายจากการลักทรัพย์โดยบุคคลที่ไม่ได้ระบุ
อยู่ในข้อยกเว้น ซึ่งได้เข้าไปหรือออกจากสถานที่ที่เอาประกันภัย โดยการใช้กำลังอย่างรุนแรง
และทำให้เกิดร่องรอยหรือความเสียหายที่เห็นได้อย่างชัดเจนต่อสถานที่ที่เอาประกันภัย รวมทั้ง
ความสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากความพยายามกระทำการดังกล่าว และให้ความคุ้มครองรวมถึงส่วนหนึ่ง
ส่วนใดของตัวอาคารอันเกิดจากการกระทำซึ่งได้รับความคุ้มครองดังกล่าวด้วย

2. การลักทรัพย์ที่ปรากฎร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ (จร.2)หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหายจากการลักทรัพย์ โดยบุคคลที่ไม่ได้ระบุ
อยู่ในข้อยกเว้น ซึ่งได้เข้าไปหรือออกจากสถานที่ที่เอาประกันภัย โดยการใช้กำลังอย่างรุนแรง
และทำให้เกิดร่องรอยหรือความเสียหายที่เห็นได้อย่างชัดเจนต่อสถานที่ที่เอาประกันภัยหรือเกิด
จากการชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์ รวมทั้งความสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากความพยายาม
กระทำการดังกล่าว และให้ความคุ้มครองรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวอาคารอันเกิดจากการกระทำ
ซึ่งได้รับความคุ้มครองดังกล่าวด้วย

3. การลักทรัพย์ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ (จร.3)หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหายจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
โดยบุคคลที่ไม่ได้ระบุอยู่ในข้อยกเว้น รวมทั้งความสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากความพยายาม
กระทำการดังกล่าว และจะให้ความคุ้มครองรวมไปถึงส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวอาคารอันเกิดจาก
การกระทำซึ่งได้รับความคุ้มครองดังกล่าวด้วย


ความรู้ประกันภัยเบ็ดเตล็ด

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Misc. insurance)
การประกันเบ็ดเตล็ด เป็นประเภทหนึ่งของการประกันวินาศภัย โดยให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสียหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง กรมธรรม์ประกันรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่เป็นที่รู้จักกันดี ประกันภัยเบ็ดเตล็ดให้ความคุ้มครองความเสียหายเกี่ยวกับบุคคล ทรัพย์สิน และความรับผิดตามกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นการประกันชนิดต่างๆ


ความรู้ประกันชีวิต

คือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อร่วมกันเฉลี่ยภัย อันเนื่องมาจากการมรณกรรม ทุพพลภาพ เจ็บป่วย และสูญเสียรายได้ยามชรา หากผู้ทำประกันภัยประสบภัย และได้ชำระเบี้ยประกันตามที่กำหนดไว้ก็ มีสิทธิ์ที่จะรับเงินจำนวนหนึ่ง มาช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และทดแทนการสูญเสียรายได้ โดยมีบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้ประสานประโยชน์เงินกองกลางนี้ ดังนั้นการประกันชีวิตจึงเปรียบเสมือน เป็นการประกันความสามารถการหารายได้ของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ทำประกันชีวิตแล้วกว่า 6 ล้านราย
   ประโยชน์ของการประกันภัย การประกันภัยนอกจากจะให้ประโยชน์โดยตรงในด้านการให้ความคุ้มครองการ
เสี่ยงภัย หรือการลดและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ประสบภัยแล้ว การประกันภัยยังให้ประโยชน์ทางอ้อมหลาย
ประการดังต่อไปนี้
1. ก่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ
2. ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ
3. การประกันภัยเป็นรากฐานสำคัญของระบบสินเชื่อ
4. การประกันภัยช่วยป้องกันภัย ช่วยป้องกันความเสียหาย
5. การประกันภัยส่งเสริมการออมทรัพย์
6. การประกันภัยช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงต่อความเป็นจริง 

ข้อมูลจาก  http://www.tqmbroker.com

11ข้อรู้ไว้..ก่อนใช้บัตรเครดิต


11ข้อรู้ไว้..ก่อนใช้บัตรเครดิต


 
           บัตรเครดิต คือ เงินสดก้อนใหญ่ที่อำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้า บริการต่างๆ ในชีวิตประจำวันอีกทั้งยังสามารถ ใช้เบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM หรือเคาน์เตอร์ธนาคารได้ในยามฉุกเฉิน ดังนั้น "ความปลอดภัย" จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรระวังและใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง และ เพื่อป้องกันการแอบอ้าง การปลอมแปลงหรือการถูกโจรกรรมบัตรเครดิต นี่คือ 11 ข้อปลอดภัยที่ทำได้ง่ายๆด้วยตัวคุณ
 
1.เซ็นชื่อด้านหลังบัตรเครดิตทันที
บนแถบขาวหลังบัตรเครดิตใบใหม่ของท่าน เพื่อป้องกันบุคคลอื่นแอบอ้างแสดงความเป็นเจ้าของ
 
 
2.ตั้งรหัสให้ "ง่ายต่อการจำ ยากแก่การเดา"
รหัส PIN No. หรือ ATM PIN เป็นรหัสเฉพาะส่วนบุคคลที่ใช้คู่กับบัตรเครดิตเท่านั้น จะต้องเป็นความลับ คุณจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เองที่ตู้ ATM
 
 
3.ไม่เปิดเผยหมายเลข 3 หลักด้านหลังบัตรเครดิต
การทำรายการสั่งซื้อสินค้าผ่าน Internet/Mail Order/Telephone Order บนหน้าจอ Computer หรือในแบบฟอร์มการสั่งซื้อสินค้า จำเป็นต้องใช้หมาย เลข3 หลักที่ปรากฏต่อท้ายหมายเลขบัตรเครดิต ที่อยู่บน แถบลายมือชื่อ ด้านหลังบัตร ดังนั้นจึงควรเก็บหมายเลขดังกล่าวเป็นความลับ และกรอกหมายเลขนี้ด้วยตัวท่านเองเสมอ
 
 
4.ทำลายหรือเก็บใบบันทึกการขายที่ยกเลิกรายการ
เมื่อแคชเชียร์ทำรายการไม่ถูกต้อง รายการนั้นจะต้องถูกยกเลิกในระบบ (Void) และควรเรียกใบบันทึกรายการขาย (Sales Slip) ฉบับที่ยกเลิกนั้นเก็บไว้ตรวจสอบหรือทำลายทันที เพื่อป้องกันการเรียเก็บซ้ำซ้อน
 
 
5.มั่นใจว่าบัตรเครดิตที่รับกลับถูกต้อง
ทุกครั้งที่รับบัตรเครดิตคืนจากพนักงานขายหรือแคชเชียร์ โปรดตรวจสอบรายละเอียด อาทิ ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรเครดิตเพื่อป้องกันการสลับบัตร
 
 
6.เก็บใบบันทึกรายการไว้เพื่อตรวจสอบยอดในใบแจ้งยอดการใช้จ่ายทุกครั้ง
เมื่อชำระค่าสินค้า บริการ ควรเก็บใบบันทึกรายการขาย (Sales Slip) หรือใบบันทึกการเบิกเงินสดล่วงหน้า (Cash Advance Slip) เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้อง กับรายการเรียกเก็บ ในใบ แจ้งยอดการใช้จ่าย (Statement) หากพบข้อผิดพลาด โปรดติดต่อธนาคารผู้ออกบัตรทันที
 
 
7.สังเกตตู้ ATM ก่อนใช้บริการ
ควรสังเกตและหลีกเลี่ยงตู้ ATM ที่มีอุปกรณ์แปลกปลอมอื่นใดเกินมาจากส่วนประกอบปกติของตู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องสอดบัตรเพื่อทำรายการ
 
 
8.ทำลายเอกสารหรือใบบันทึกรายการที่มีข้อมูลบัตรเครดิต
เนื่องจากเอกสารดังกล่าวปรากฎข้อมูลต่างๆ ของบัตร ซึ่งล่อแหลมต่อการ นำบัตรไปใช้โดยมิจฉาชีพ หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ควรฉีก ย่อยหรือเผาทำลายก่อนทิ้ง
 
 
9.ยื่นบัตรเครดิตให้กับพนักงานขายหรือแคชเชียร์โดยตรง
เมื่อชำระค่าสินค้าบริการเพื่อหลีกเลี่ยง และป้องกันไม่ให้บัตรเครดิต ของคุณผ่าน มือบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น
 
 
10. ตรวจเช็คข้อมูลบนใบบันทึกการขายให้ถูกต้อง (Sales Slip)
โปรดตรวจสอบจำนวนเงิน หมายเลขบัตรเครดิตและชื่อ นามสกุล ก่อนเซ็นชื่อบนใบบันทึกการขาย (Sales Slip)
 
 
11.เก็บบัตรเครดิตในที่มิดชิดแต่สังเกตง่าย
ควรเก็บบัตรเครดิตในตำแหน่งที่เห็นเด่นชัดในกระเป๋าสตางค์เพื่อความสะดวกในการตรวจดู และทราบทันทีเมื่อสูญหาย


ขอบคุณแหล่งที่มา:www.phithan-toyota.com



ข้อคิด คำคม การลงทุน สร้างความสำเร็จ



"คุณจะหาเงินได้ไม่ได้...ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด
คุณจะมีไอเดียดีๆ หรื่อไม่ ก็ไม่เป็นไร
    คุณจะเก่งหรือไม่เก่ง ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไร"

แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณต้อง "คุณต้องเชื่อมั่่นในตัวเอง"
เพราะ"ความเชื่อมั่นในตัวเอง"ของคุณ
จะเป็นตัวตัดสินว่า "คุณกล้าเชื่อมั่นในอะไรสักอย่างไหม"

ถ้าคุณไม่กล้าเชื่อมั่นอะไรสักอย่าง
  คุณก็จะเริ่มต้น อะไรไม่ได้เลย
แล้วเมื่อคุณ

บริหารเงิน แบบ 3 พอ ให้เป็น 3 เหลือ

 



 สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกวันนี้คุณมีการ"บริหารเงิน" ของคุณอย่างไรกันบ้างครับ สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณได้มากแค่ไหน และสามารถมีเงินเหลือพอที่จะเอาไปลงทุนสร้างรายได้ ต่อยอดให้คุณได้หรือไม่ครับ  วันนี้ผมมีวิธีบริหารเงิน แบบ3พอ มาฝากเผื่อจะสร้างไอเดียใหม่ๆในการบริหารเงินของคุณที่อาจจะพาคุณไปสู่อิสรภาพทางการเงินได้
มาเริ่มกันที่อันแรกเลยดีกว่าครับ

พอกิน


      พอตัวแรกคือพอกิน จะเห็นได้เดี๋ยวนี้ค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมาก หากเราไม่บริหารเงินตรงนี้ให้ดีค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะสูงมาก อย่าลืมว่ากินข้าวราดแกงริมถนน จานละ 30 บาท กับ ไปกินร้านอาหารญี่ปุ่น ราคาหลายร้อย มันก็อิ่มเหมือนๆกัน สู้เอาส่วนต่างราคาตรงนั้นไปหาทางสร้างรายได้ให้เราต่อไปไม่ดีกว่าหรือ แต่ไม่ใช่ว่าทั้งเดือนกินแต่มาม่า เพื่อที่จะมีเงินเก็บเยอะๆอันนี้ก็ไม่ถูกต้องเท่าไร เราควรเลือกกินสิ่งที่มีประโยชน์และคุ้มกับราคาที่เสียไป ถึงคุณจะมีเงินเหลือมากมายจากการกินมาม่าแต่แลกมาด้วยสุขภาพที่เสียไปจากการขาดสารอาหารที่จำเป็น มันก็ไม่คุ้มอยู่ดี เพราะคุณต้องเสียเงินในจำนวนที่มากกว่า ในการรักษาตัว

พอใช้

 
     แน่นอนว่าในทุกๆเดือนเราต้องมีค่าใช้จ่าย ในด้านต่างๆมากมาย แต่เงินที่เราเสียไปนั้นสมเหตุสมผลกับสิ่งที่ได้รับและรายได้ของเราหรือไม่ บางคนรายได้ 15000 แต่เช่าคอนโด ผ่อนรถ ใช้ของแบรนด์เนมทั้งตัว อย่างนี้มันก็ไม่สมเหตุผลเท่าไร  แต่ถ้าเกิดมีรายได้เกิน 200000 เรื่องพวกนี้ นี้มันก็สามารถที่จะทำได้  สิ่งสำคัญก็คือเราควรเสียเงินไปกับสิ่งที่มันคุ้มค่าคุ้มราคา สอดคล้องกับรายได้ของเรามากกว่า เพื่อที่จะเหลือเงินเอาไปลงทุน สร้างรายได้ให้งอกเงยดีกว่าครับ

พอเก็บ


     พอเก็บอันนี้เป็นสิ่งสำคัญเลยนะครับ หลายคนมีพอกินพอใช้แต่ไม่มีเงินพอเก็บ อย่าลืมว่าเงินส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับเรา จะเกิดอะไรขึ้นหากมีเหตุฉุกเฉิน ต้องใช้เงินด่วนขึ้นมา แล้วไม่มีเงินเก็บเลย
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแก่ตัวไปแต่ไม่มีเงินไว้ใช้ยามชรา อย่าไปคิดว่ามันอีกไกล อย่าลืมว่าในทุกๆนาทีที่ผ่านไป คุณก็แก่ตัวลงไปเช่นกัน และเมื่อมีเงินเก็บมากพอก็ควรที่จะนำไปลงทุน ในแบบต่างๆตามเป้าหมายของคุณ เช่น กองทุนต่างๆ หุ้นปันผล ทองคำ เงินฝากประจำ ประกันชีวิต ธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่แนะนำให้ไปฝากออมทรัพย์ เพื่อกินดอกเบี้ย วิธีนี้อาจทำให้เงินเก็บของคุณลดมูลค่าลงเรื่อยๆหากนำไปเทียบกับอัตราเงินเฟ้อต่อปี กับ อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ต่อปี ส่วนรายละเอียดต่างๆในการลงทุนก็ติดตามกันในบทความต่อๆไปในblogนี้นะครับ


ถ้าหากคุณสามารถบริหารเงินให้เป็นไปตาม หลัก 3 พอแล้ว อีกไม่ช้าไม่นาน จาก 3 พอ จะกลายเป็น 3เหลือ นั่นคือ เหลือกิน เหลือใช้ เหลือเก็บ อิสรภาพทางการเงินก็ไม่ไปไหนแล้วครับ




 “ประตูในชีวิตของคนเราไม่ใช่ประตูอัตโนมัติ หากเราไม่ลงมือเปิดประตูเอง ประตูนั้นจะปิดตายไปตลอด ดังนั้น หากเราต้องการให้ประตูแห่งความสำเร็จเปิดออก เราก็ต้องลงมือผลัก หรือดึงประตูนั้นด้วยตัวเอง”"



-->

ความฉลาดในการใช้บัตรเครดิต




บัตรเครดิตใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและคุ้มค่า

ในทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า บัตรเครดิต คือสิ่งที่หลายคนจำเป็นต้องใช้มัน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน แต่การที่จะใช้บัตรเครดิต ให้ปลอดภัยและคุ้มค่าที่สุดนั้นก็เป็นสิ่งที่เราควรจะศึกษาไว้เช่นกัน จะได้ไม่เกิดปัญหาทางเงินตามมาเหมือนที่ได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆวันนี้ขอนำเทคนิคดีๆในการใช้บัตรเครดิตให้ปลอดภัยและคุ้มค่ามานำเสนอครับ

ให้คิดว่าบัตรเครดิตคือเงินสด


ใช่ครับมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราต้องแน่ใจว่าบัตรเครดิตนั้นยังอยู่กับเราตลอดเวลาหรือเปล่า ถ้าเกิดหายหรือหาไม่เจอให้รีบแจ้งอายัดบัตรทันทีนะครับ ยอมเสียค่าทำบัตรใหม่ดีกว่าให้เงินหายแถมหนี้ก้อนมาให้นะครับ และอีกอย่างถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเอาออกมาให้ใครดูโจรสมัยนี้ มันจะมีวิธีแอบถ่าย รูปบัตรเครดิต แล้วเอาเบอร์บัตร และ เลขรหัส CVC 3 ของเราไปซื้อของทางอินเตอร์เนต กว่าจะรู้ตัวเงินก็หายไปแล้วอันนี้ควรระวังให้ดี ทางแก้ก็คือ จำเลขรหัส CVC 3ที่อยู่หลังบัตร ไว้ให้ดีหรือจดไว้ในที่ปลอดภัย แล้วก็เอาปากกาเมจิมาขีดทับให้มองไม่เห็นซะเท่านี้ก็ปลอดภัยไปได้ระดับหนึ่งแล้วครับ


คิดให้ดีก่อนใช้บัตรเครดิต


       ปัญหาของหลายๆคนก็คือ เห็นของลดราคา ของแถม โปรโมชั่นต่างๆของบัตรเครดิตแล้วอดใจไม่ไหวลืมคิดไปว่าสิ่งที่ไปรูดปรื้ดๆมานั้นก็คือเงินของเราแถมด้วยดอกเบี้ยทั้งนั้น
แล้วพอถึงกำหนดที่ต้องจ่ายกลับจ่ายได้เพียงขั้นต่ำ 10% เท่านั้นที่เหลือให้ดอกเบี้ยกิน
เดือนต่อไปก็รูดใหม่อีก บัตรเดียวไม่พอก็เพิ่มไปเรื่อย แต่ไม่ใช่แค่บัตรที่เพิ่มขึ้นมานะครับหนี้สินพร้อมดอกเบี้ยก็จะอยู่เป็นเพื่อนของคุณอีกตราบนานเท่านาน ระวังกันไว้ให้ดีๆ



ชำระเงินเต็มจำนวนทุกครั้ง

หากเราต้องการใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่าจริงๆ  เมื่อครบกำหนดแล้วเราต้องสามารถจ่ายได้เต็มวงเงินทุกครั้งจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและได้เครดิตเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแต้มสะสม เพราะระยะเวลาเครดิตที่บัตรให้มาก็หลายวันอยู่ ที่ให้เราเอาเงินมาใช้ก่อนฟรีๆ







ใช้เครดิตสร้างผลตอบแทน


                                วิธีนี้คือการบรหารเงินอีกแบบหนึ่งคือแทนที่เราจะใช้เงินสดที่เรามีไปซื้อของ แต่ให้เราใช้บัตรเครดิตแทน แล้วเก็บเงินสดไว้ในที่ที่ให้ให้ผลตอบแทนที่ดีเช่น กองทุนต่างๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าบัตรเครดิต ก็ค่อยไปถอนมาจ่ายเต็มวงเงิน  เท่ากับว่าในระหว่างนั้นเราได้ผลตอบแทนแถมมาอีกต่างหาก จากระยะเวลาเครดิตของบัตรที่ให้เรามา เห็นไหมครับว่าได้หลายเด้งเลย แต่เจ้าของบัตรคงจะไม่ชอบวิธีนี้เท่าไรเพราะไม่ได้อะไรจากเราเลยแถมต้องมาออกเงินให้ก่อนอีก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะมีก็คือ
ความฉลาดทางการเงิน”ครับที่จะทำให้เรา

“มีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี  ไม่ต้องตกเป็นทาสบัตรเครดิต และใช้การบริหารเงินในบัตรเครดิตทำเงินเพิ่มให้เราแทน”



-->